ปัจจุบันการใช้ สเต็มเซลล์ ( stem cell ) ถือว่ามีความพัฒนามาก แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะใช้ สเต็มเซลล์ ในการรักษาโรคทุกโรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ แต่ในอนาคตความฝันนี้ อาจจะเป็นจริงได้ วันนี้มาอ่านการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วย สเต็มเซลล์ กัน
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด สเต็มเซลล์ ( Stem cell ) ในอดีตเรียกว่าการปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นวิธีหนึ่งในการรักษาโรคเลือดบางชนิด เช่น โรคไขกระดูกฝ่อ ไขกระดูกทำงานผิดปกติ และ มะเร็งระบบเลือดต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูกระบวนการสร้างเม็ดเลือดในร่างกาย
ชนิดของการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ( STEM CELL )
1. การปลูกถ่ายเซลล์สเต็มเซลล์ โดยใช้เซลล์ของตนเอง ( autologous stem cell transplantation )
2. การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ เป็นการใช้เซลล์ของผู้ที่มีความเต็มใจบริจาค ( allogenic stem cell transplantation ) ซึ่งสามารถมีแหล่งของผู้บริจาคได้ต่าง ๆ ดังนี้
– ผู้บริจาค ที่มีสถานะเป็นพี่ – น้อง จากพ่อแม่ท้องเดียวกัน ที่มีลักษณะพันธุกรรมจากการตรวจสอบ ( human leukocyte antigen : HLA ) โดยต้องเข้ากันได้ 100% ( match – related donor )
– ผู้บริจาคที่มี HLA ไม่ตรงกับผู้รับ 100% ( mismatch donor )
3. ผู้บริจาคที่ไม่ใช่พี่ – น้อง ของผู้รับ แต่ต้องมีค่า HLA ที่สามารถเข้ากันได้ 100% ( match-unrelated donor ) เท่านั้น
4. ผู้บริจาคต้องมีค่า ( haploidentical donor ) เข้ากันได้ ส่วนใหญ่ผู้บริจาคมักเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน หรือ พ่อแม่ลูก ที่มีสายเดือดเดียวกัน
แหล่งของสเต็มเซลล์ ( STEM CELL )
เราสามารถเก็บแยกเซลล์ต้นกำเนิดได้จาก
– ไขกระดูก
– กระแสเลือด
– รกของเด็กแรกเกิด
โรค หรือภาวะที่สามารถรักษาด้วยการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ( STEM CELL )
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง สามารถใช้ในการรักษา
– มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ( multiple myeloma )
– มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( lymphoma )
– มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( leukemia )
– โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติบางชนิดที่มีความรุนแรงมาก จนการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้บริจาค สามารถใช้ในการรักษา
– มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ( lymphoma )
– มะเร็งเม็ดเลือดขาว ( leukemia )
– ไขกระดูกฝ่อ ( aplastic anemia )
– โรค paroxysmal nocturnal hemoglobinuria ( PNH )
– โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ( severe combined immune deficiency หรือ SCID )
– โรค Wiskott – Aldrich syndrome เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
– โรค pure red cell aplasia
– โรค amegakaryocytosis/congenital thrombocytopenia
– โรคธาลัสซีเมีย
– โรคโลหิตจางชนิด sickle cell
– โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก ( inherited metabolic disorders )
– โรค myelodysplastic syndrome เป็นโรคที่มีเม็ดเลือดในไขกระดูกผิดปกติ
วิธีการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ( STEM CELL )
ก่อนเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อม และ เตรียมตัว โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงแผนการรักษาก่อนการปลูกถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาเคมีบำบัด และ การฉายแสงเมื่อเริ่มมีการรักษาผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวในห้องปลอดเชื้อแบบพิเศษเท่านั้น เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสงเพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย (มีผลต่อเซลล์ปกติอื่นๆ ด้วย) เมื่อได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสงแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดทางหลอดเลือดดำใหญ่ โดยช่วงเวลาที่เหลือจะเป็นการพักฟื้นให้ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดทำงาน ระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
– ภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรงจากภูมิต้านทานต่ำในช่วงของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
– ภาวะร่างกายต่อต้านเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่ได้รับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค หรือเกิดภาวะร่างกาย ปฏิเสธเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
– ผลจากการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และอาจมีอันตรายถึงชีวิต
ขอขอบคุณข้อมูลจาก bumrungrad