มีหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะการแพร่กระจายของโรค สภาพร่างกายของผู้ป่วย และการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษาแต่ละวิธี โดยคนไข้บางคนอาจใช้การรักษาเพียงวิธีเดียว ในขณะที่บางคนอาจต้องใช้การรักษามากกว่าหนึ่งวิธีร่วมกัน ซึ่งแพทย์จะประเมินจากปัจจัยต่างๆ เพื่อเลือกแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละคน
ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งมีหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะการแพร่กระจายของโรค สภาพร่างกายของผู้ป่วย และการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษาแต่ละวิธี โดยคนไข้บางคนอาจใช้การรักษาเพียงวิธีเดียว ในขณะที่บางคนอาจต้องใช้การรักษามากกว่าหนึ่งวิธีร่วมกัน ซึ่งแพทย์จะประเมินจากปัจจัยต่างๆ เพื่อเลือกแนวทางการรักษาที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ป่วยแต่ละคน
ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึง 5 ทางเลือกในการรักษามะเร็งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย และเป็นทางเลือกที่ผ่านการรับรองทางการแพทย์แล้วว่ามีประสิทธิภาพดีในผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่
1. การฉายแสง
การฉายแสงรักษามะเร็ง หรือ Radiation เป็นการใช้รังสีเอกซเรย์ความเข้มข้นสูงเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งและทำให้ขนาดของก้อนมะเร็งเล็กลง โดยรังสีดังกล่าวจะเข้าไปทำลาย DNA ของเซลล์มะเร็งให้หยุดการเจริญเติบโต หยุดแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และตายในที่สุด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน กว่าเซลล์มะเร็งจะได้รับความเสียหายและเห็นผลการรักษาชัดเจน
การฉายแสงรักษามะเร็งสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือ การฉายแสงระยะไกล (External beam radiation) และการฉายแสงระยะใกล้ (Internal beam radiation)
การฉายแสงระยะไกล (External beam radiation)
คือการฉายรังสีที่แหล่งกำเนิดอยู่ห่างจากตัวผู้ป่วย หรือจากอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่อยู่นอกร่างกาย โดยลำแสงพลังงานสูงจะทะลุผ่านผิวหนังเข้าไปยังก้อนมะเร็งและพื้นที่รอบๆ เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งเฉพาะจุด เช่น ถ้าคนไข้มีมะเร็งที่ปอด ก็จะฉายแสงเข้าไปบริเวณหน้าอกโดยตรง ไม่ใช่การฉายแสงทั่วร่างกาย
การฉายแสงระยะใกล้ (Internal beam radiation)
คือการใส่สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย หรือเรียกง่ายๆ ว่า การฝังแร่ โดยแร่ที่ใส่เข้าไปอาจเป็นของแข็งหรือของเหลวก็ได้ สำหรับแหล่งกำเนิดรังสีที่เป็นของแข็ง จะเรียกว่า Brachytherapy ซึ่งจะถูกใส่เข้าไปใกล้กับจุดที่ต้องการรักษา ส่วนแหล่งกำเนิดที่เป็นของเหลว จะเรียกว่า Systemic therapy ซึ่งสารกัมมันตรังสีจะไหลเวียนในกระแสเลือด เพื่อเข้ากำจัดเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยการฝังแร่อาจใช้วิธีการกลืน ฉีด หรือให้ผ่านหลอดเลือดดำก็ได้
การฉายแสง เหมาะกับมะเร็งชนิดไหน?
การฉายแสงระยะไกล เหมาะกับการรักษามะเร็งหลายชนิดที่เราทราบบริเวณและขอบเขตของก้อนมะเร็งชัดเจน ส่วนการฉายแสงระยะใกล้แบบ Brachytherapy เหมาะสำหรับรักษามะเร็งบริเวณศีรษะ ลำคอ หน้าอก มดลูก ต่อมลูกหมาก และดวงตา ในขณะที่การฝังแร่แบบ Systemic therapy จะเหมาะกับการรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์บางประเภท
ผลข้างเคียงจากการฉายแสง
อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังการฉายแสง ได้แก่ อาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ผมและขนร่วง คลื่นไส้อาเจียน ผิวหนังมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป กลืนอาหารลำบาก ท้องร่วง และในผู้ป่วยบางรายอาจมีความต้องการทางเพศลดลงด้วย
2. เคมีบำบัด
การรักษามะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือ Chemotherapy ซึ่งเรามักเรียกสั้นๆ ว่าการทำ คีโม เป็นการใช้ยาเคมีเข้าไปจัดการกับเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยยาจะทำให้เซลล์นั้นหยุดเจริญเติบโตและแบ่งตัวได้ช้าลง ส่งผลให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง และไม่ลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นต่อไป
โดยทั่วไป เคมีบำบัดมักจะใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่นๆ เช่น ใช้เพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนคนไข้จะเข้ารับการผ่าตัดหรือรับการฉายแสง ใช้ทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากผ่าตัด หรือใช้กำจัดมะเร็งที่กลับมาเป็นใหม่หลังการรักษา เป็นต้น โดยการให้ยาเคมีบำบัด สามารถให้ได้ทั้งทางการกิน ในรูปแบบยาเม็ด แคปซูล หรือยาน้ำ ให้ทางการฉีด ให้ทางหลอดเลือดดำ หลอดเลือดแดง สอดเข้าใต้ชั้นผิวหนัง หรืออาจใช้วิธีทาลงบนผิวหนังโดยตรงก็ได้ ซึ่งจำนวนครั้งและความถี่ของการทำคีโม อาจแตกต่างกันไปตามชนิดของมะเร็ง ระยะ ความรุนแรง และสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน
ผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด
เนื่องจากยาเคมีบำบัดไม่เพียงทำลายเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่ยังสร้างความเสียหายแก่เซลล์ปกติในร่างกายได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ในช่องปาก เซลล์เยื่อบุลำไส้ และเซลล์รากผม ดังนั้น การทำคีโมจึงทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้หลากหลายมาก เช่น อาการคลื่นไส้ ปวดเมื่อยปาก ผมร่วง อ่อนเพลียและหมดแรง จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องพักผ่อนให้มาก โดยเฉพาะภายหลังจากการรับเคมีบำบัด
3. การผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นการใช้อุปกรณ์เพื่อกำจัดเอาก้อนมะเร็งออกจากร่างกาย โดยอุปกรณ์ที่ใช้อาจเป็นมีดผ่าตัดขนาดเล็ก หรืออาจใช้เทคนิคอื่นๆ เช่น ใช้ไนโตรเจนเหลวและก๊าซอาร์กอนเย็นจัดเพื่อทำลายมะเร็ง หรือใช้เลเซอร์กำจัดเซลล์มะเร็ง เป็นต้น ซึ่งการผ่าตัดจะต้องทำภายใต้ยาสลบหรือยาชาเฉพาะที่เพื่อป้องกันความเจ็บปวด
เราสามารถแบ่งการผ่าตัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การผ่าตัดเปิด (Open surgery) ซึ่งเป็นการผ่าเปิดแผลขนาดใหญ่จากบนผิวหนัง เพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อข้างเคียงออก กับ การผ่าตัดแบบสอดกล้อง (Minimally invasive surgery) ซึ่งจะทำการผ่าเปิดแผลเป็นช่องเล็กๆ เพื่อสอดท่อยาวที่ปลายติดกับกล้องขนาดเล็ก ที่เรียกว่า Laparoscope เข้าไป กล้องจะฉายภาพผ่านจอมอนิเตอร์เพื่อให้แพทย์เห็นสภาพภายใน จากนั้นแพทย์จะใช้อุปกรณ์ผ่าตัดพิเศษสอดเข้าไปเพื่อตัดเอาก้อนมะเร็งออกมา
การผ่าตัดเหมาะกับมะเร็งชนิดไหน?
การรักษาด้วยการผ่าตัดเหมาะกับมะเร็งหลายชนิด ที่มีก้อนเนื้องอกหรือก้อนมะเร็งเป็นของแข็ง มีขอบเขตชัดเจน และอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่จำเพาะ แต่ไม่เหมาะกับมะเร็งที่กระจายไปทั่วร่างกาย และมะเร็งเม็ดเลือดประเภทต่างๆ
ผลข้างเคียงจากการผ่าตัด
หลังการผ่าตัด คนไข้จะรู้สึกเจ็บปวดในบริเวณที่ผ่า โดยเฉพาะถ้าแผลผ่ามีขนาดใหญ่ จึงจำเป็นจะต้องพักฟื้นเป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนร่วมกับการรับยาแก้ปวด นอกจากนี้ แผลจากการผ่าตัดก็มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย คนไข้จึงอาจต้องรับยาฆ่าเชื้อ และต้องดูแลความสะอาดของแผลให้ดีเป็นพิเศษ
4. การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง
การรักษาแบบนี้อาจเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า หรือ Targeted therapy ซึ่งหมายถึงการให้ยากำจัดมะเร็งที่จำเพาะเจาะจงกับเซลล์มะเร็งแต่ละชนิด โดยตัวยาเหล่านี้ จะมีเป้าหมายอยู่ที่โปรตีนบางตัวบนเซลล์มะเร็ง ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งตัว และการแพร่กระจายของเซลล์ ซึ่งโมเลกุลยาจะเข้าจู่โจมเฉพาะเซลล์มะเร็งเท่านั้น และไม่ทำให้เซลล์ปกติในร่างกายเกิดความเสียหายไปด้วย
ตัวยาแบบเจาะจง อาจมาในรูปของโมเลกุลขนาดเล็กที่สามารถตรงเข้าสู่เซลล์มะเร็งได้ง่าย หรืออยู่ในรูปของโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibodies) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สังเคราะห์ขึ้นให้จำเพาะกับเป้าหมายบนเซลล์มะเร็ง โดยแอนติบอดีดังกล่าวจะเข้าจับกับโปรตีนบนเซลล์มะเร็งโดยตรง และกระตุ้นให้เซลล์หยุดการเจริญหรือส่งสัญญาณให้เซลล์ทำลายตัวเอง
การใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง เหมาะกับมะเร็งชนิดไหน?
การใช้ตัวยาแบบเจาะจงเหมาะกับการรักษามะเร็งหลายชนิด อย่างไรก็ตาม คนไข้จะต้องรับการทดสอบดูก่อนว่าเซลล์มะเร็งในร่างกายเรานั้นมี ‘เป้าหมาย’ ที่จำเพาะเจาะจงกับยาที่มีอยู่หรือไม่ โดยแพทย์จะทดสอบด้วยการตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) จากก้อนมะเร็งออกมาตรวจสอบและประเมินอย่างละเอียด
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง
การรักษาด้วยยาประเภทนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดยอาการที่พบบ่อยในคนไข้ส่วนใหญ่ ได้แก่ อาการท้องร่วงและเกิดความผิดปกติของตับ ส่วนอาการที่พบได้บ้าง ได้แก่ รู้สึกเมื่อยล้า หมดแรง ผิวหนังเป็นผื่นแห้งคัน ความดันสูง และการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ นอกจากนี้ การรักษาด้วยยาแบบเจาะจงเพียงชนิดเดียว ก็มีโอกาสทำให้เซลล์มะเร็งดื้อยาได้เช่นกัน
5. การฉีด NK cells
NK cells หรือ Natural killer cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) NK cells ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลไกภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด ที่เรียกว่า Innate immunity โดยจะทำหน้าที่คอยกำจัดเซลล์แปลกปลอม อย่างเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส หรือเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยการกระตุ้นด้วยเซลล์ชนิดอื่น ด้วยเหตุนี้ NK cells จึงมีบทบาทสำคัญมากในการต่อต้านมะเร็ง เนื่องจาก NK cells สามารถตรงเข้าจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้ทันที ช่วยยับยั้งการแพร่กระจายของมะเร็งได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยรวมให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็งอย่างเจาะจงมากขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม จำนวนของ NK cells ในกระแสเลือดนั้นมีอยู่ค่อนข้างน้อย คือราวๆ 15% ของจำนวนลิมโฟไซต์ทั้งหมดเท่านั้น และเมื่ออายุมากขึ้น จำนวน NK cells ก็จะลดลงไปตามวัย นอกจากนี้ ในคนป่วยโรคมะเร็ง เซลล์มะเร็งจะมีการหลั่งสารไซโตไคน์บางชนิดออกมาซึ่งส่งผลให้การทำงานของเม็ดเลือดขาวผิดเพี้ยน เซลล์มะเร็งจึงสามารถเล็ดลอดจากการตรวจจับของภูมิคุ้มกันออกมาได้โดยไม่ถูกกำจัด ดังนั้น การฉีด NK Cells ที่ถูกกระตุ้นแล้วเพิ่มเข้าไปในเลือด จึงสามารถช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกายได้
การทำงานของ NK Cells
บนผิวของ NK Cells จะมีตัวรับ หรือ receptor ที่คอยรับส่งสัญญาณเพื่อการกำจัดเซลล์เป้าหมาย เมื่อพบเจอเซลล์แปลกปลอมในร่างกาย NK Cells จะใช้ตัวรับเข้าจับกับโปรตีนบนเซลล์ และประมวลผลว่าเซลล์ดังกล่าวเป็นเซลล์ผิดปกติที่ต้องทำลายหรือไม่ และจะจัดการด้วยกลไกใด ในขณะเดียวกัน NK Cells จะไม่ทำอันตรายเซลล์ปกติในร่างกาย เนื่องจากเซลล์ปกติมีโปรตีนที่เรียกว่า HLA-antigen อยู่บนเซลล์ ซึ่งมีความจำเพาะในคนแต่ละคน และทำหน้าที่เป็นสัญญาณยับยั้งไม่ให้ NK Cells เข้ามาทำลาย
เมื่อ NK Cells เข้าจับเซลล์แปลกปลอมแล้ว จะเหนี่ยวนำให้เกิดการกำจัดเซลล์ด้วยหลากหลายกลไก เช่น
– ทำลายเซลล์เหล่านั้นโดยตรง ด้วยการหลั่งเอนไซม์และสาร Perforins ที่เป็นพิษต่อเซลล์
– หลั่งไซโตไคน์ชนิดต่างๆ เช่น TNF-α และ IFN-gamma เพื่อกระตุ้นให้เซลล์อื่นๆ ในระบบภูมิคุ้มกันมาทำลายเซลล์แปลกปลอมอีกทีหนึ่ง
– กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งนั้นตาย ผ่านทาง FasL และ TRAIL receptors
– ทำลายเซลล์แปลกปลอมโดยกลไกที่อาศัยแอนติบอดีมาจับ
โอกาสในการรักษามะเร็งด้วย NK Cells
การฉีด NK Cells จัดเป็นการรักษามะเร็งด้วยกลไกทางภูมิคุ้มกัน (Immunotherapy) ที่อาศัย NK Cells ที่ฉีดเข้ามาให้ตรงเข้ากำจัดเซลล์มะเร็ง ในเบื้องต้น มีงานวิจัยของสถาบันวิจัยโรคมะเร็ง ไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2000 พบว่าคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานของ NK cells ต่ำ จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น การมี NK cells จำนวนมากขึ้น และมีประสิทธิภาพดีขึ้น ก็น่าจะช่วยให้ร่างกายต่อต้านมะเร็งได้ดีตามไปขึ้นด้วย
ในปัจจุบัน วิธีการฉีด NK cells เพื่อรักษามะเร็งถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น และได้ผลดีในมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทั้งยังมีการศึกษาที่พบว่าการให้ NK cells น่าจะช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยโรคมะเร็งให้ยืนยาวขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น บางครั้งบนเซลล์มะเร็งก็ปรากฏ HLA antigen ทำให้เซลล์สามารถหลบหนีจากการตรวจจับโดยภูมิคุ้มกันได้ เราจึงจำเป็นต้องปรับปรุงการรักษา โดยการกระตุ้นและดัดแปลง NK Cells ให้มีความไวต่อเซลล์มะเร็ง และสามารถกำจัดเซลล์มะเร็งได้จำเพาะและรวดเร็วขึ้น
ขั้นตอนการฉีด NK Cells รักษามะเร็ง จะเริ่มจากการแยก NK Cells ของผู้ป่วยเองหรือของผู้บริจาคที่มีสุขภาพดี ออกมาจากเม็ดเลือดขาวชนิดอื่นๆ จากนั้น จะนำ NK Cells ที่ได้มากระตุ้นตัวรับ หรือดัดแปลงทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้เซลล์ตอบสนองต่อเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะและมีประสิทธิภาพ แล้วจึงนำ NK Cells เหล่านั้นไปเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการเพื่อเพิ่มจำนวน ก่อนจะนำไปฉีดเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อให้ทำหน้าที่กำจัดเซลล์มะเร็งตามกลไกต่อไป
การฉีด NK Cells เหมาะกับมะเร็งชนิดไหน?
การฉีด NK Cells เหมาะกับการรักษามะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งลำไส้ รวมถึงยังใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษามะเร็งด้วยวิธีอื่นๆ อย่างการฉายแสง การผ่าตัด หรือเคมีบำบัดได้เช่นกัน
ผลข้างเคียงจากการฉีด NK Cells
ระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกกระตุ้นไม่เพียงเข้าต่อสู้กับเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่ยังอาจตอบสนองต่อเซลล์ปกติในร่างกายได้ด้วย จนทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น รู้สึกปวดเมื่อยและบวมแดงตามตัว เกิดผื่นและคันบนผิวหนัง มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ และมีอาการอ่อนแรงคล้ายเป็นไข้หวัด
การทำ NK Cell Therapy กับ DOTSTEMCELL สถาบันเพื่อการดูแลสุขภาพครบวงจร
NK Cell Therapy คือการฉีด NK Cells ซึ่งเป็นกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถของภูมิคุ้มกัน ให้ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและเซลล์แปลกปลอมได้ดีขึ้น ซึ่งมีประโยชน์สำหรับคนที่มีร่างกายอ่อนแอ มีการทำงานของ NK Cells ต่ำกว่าปกติ และมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ อย่างโรคมะเร็ง และโรคติดเชื้อไวรัส เป็นต้น
โดยทั่วไปเราสามารถวัดระดับการทำงานของ NK Cells ได้โดยการวิเคราะห์ Immunity NK test ซึ่งเป็นการตรวจวัดปริมาณ IFN-gamma ที่หลั่งออกมาเมื่อ NK cells ถูกกระตุ้น โดยค่าที่ได้จะช่วยประเมินประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันแต่กำเนิดในร่างกายได้ สำหรับคนที่มี NK cell activity ในระดับต่ำ (100 – 250) อาจบ่งบอกถึงภูมิต้านทานที่อ่อนแอและเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ในระยะต้น ซึ่งควรได้รับการปรับเสริมภูมิคุ้มกันโดยการฉีด NK Cells เพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ปกป้องร่างกายได้ดีขึ้น
การฉีด NK Cells เหมาะกับใคร?
– คนที่มีร่างกายอ่อนแอ และมีภาวะติดเชื้อบ่อยครั้ง
– คนที่มีความเครียดวิตกกังวล มีปัญหานอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันด้อยประสิทธิภาพ
– คนที่ต้องสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม หรือได้รับฮอร์โมนจากยาและอาหารเสริมเป็นประจำ
– คนที่ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่อย่างหนัก
– คนสุขภาพปกติ ที่ต้องการเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
ผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการเสริมประสิทธิภาพการรักษา และลดผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี
ทำไมจึงควรเลือกฉีด NK Cells กับ DOTSTEMCELL
DOTSTEMCELL มีบริการเก็บ NK Cells และ Stem cells ที่เป็นเซลล์ต้นกำเนิดจากร่างกายของเราเอง เพื่อเตรียมการไว้สำหรับการรักษาอาการเจ็บป่วยในอนาคต ซึ่งเซลล์ที่เก็บจากตัวเองจะมีความจำเพาะและสามารถเข้ากันได้พอดีกับร่างกายเรา รวมถึงมีพันธุกรรมที่ใกล้เคียงกับคนในครอบครัวด้วย
นอกจากนี้ ทาง DOTSTEMCELL ยังใช้ Immunity Booster เพื่อกระตุ้นการแบ่งตัวและการเจริญของเซลล์ต้นกำเนิด NK Cells ที่สกัดจากพืชธรรมชาติ มีการผลิตและควบคุมคุณภาพในสหรัฐอเมริกา และปราศจากสารเคมีเจือปน ซึ่งมีความปลอดภัยสูงแม้กับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่างเช่นโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะคอเลสเตอรอลสูง โรคตับอักเสบเรื้อรัง รวมถึงคนที่มีร่างกายอ่อนแอจากปัญหาสุขภาพต่างๆ อยู่แล้ว