ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immune System ) หนึ่งในระบบของร่างกายที่ต้องอาศัยการทำงาน ประสานกันหลายส่วน ทั้งกลไกการตรวจสอบ และตอบสนองที่ถูกต้อง วันนี้เราจะมานำเสนอข้อมูล ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immune System ) ที่เพื่อน ๆ อาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immune System ) หนึ่งในระบบของร่างกายที่ต้องอาศัยการทำงาน ประสานกันหลายส่วน ทั้งกลไกการตรวจสอบ และตอบสนองที่ถูกต้อง วันนี้เราจะมานำเสนอข้อมูล ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immune System ) ที่คุณอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน
ระบบภูมิคุ้มกัน ( Immune System ) คือ กลไกภายในร่างกาย ที่ทำหน้าที่ป้องกัน และต่อต้าน อันตรายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่สามารถก่อให้โรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงการทำหน้าที่ ตรวจสอบ และสร้างกลไก การตอบสนอง เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย สามารถกลับมาทำงาน ได้ตามปกติโดยทั่วไปแล้ว สิ่งแปลกปลอม ที่เข้าสู่ร่างกายหรือ แอนติเจน ( Antigen ) คือ โมเลกุลของโปรตีน ที่สามารถทำการกระตุ้น ให้ระบบภูมิคุ้มกัน ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต เกิดการตอบสนอง เป็นสารก่อภูมิต้านทาน ที่นำไปสู่การสร้าง แอนติบอดี ( Antibody ) หรือสารประกอบ ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อมากำจัด และทำลาย แอนติเจน ( Antigen ) หรือสารแปลกปลอมดังกล่าวในระบบภูมิคุ้มกัน มี เซลล์เม็ดเลือดขาว ( White Blood Cell หรือ Leucocyte ) ที่สำคัญไหลเวียนอยู่ ในกระแสเลือด ซึ่งทำหน้าที่ป้องกัน การแพร่กระจาย ของเชื้อโรค ภายในร่างกาย และช่วยกำจัดสารพิษ ของเสีย หรือเซลล์ที่ผิดปกติ ดังนั้น หน้าที่หลัก ของระบบภูมิคุ้มกัน จึงประกอบด้วย <.p> – ป้องกัน และทำลาย เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ
– กำจัดเซลล์ ที่เสื่อมสภาพ ออกจากระบบ ของร่างกาย เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง ที่มีอายุมาก
– จับตาดูเซลล์ ที่แปรสภาพผิด ไปจากปกติ เช่น เซลล์ที่กำลังเติบโต ไปเป็นเซลล์มะเร็ง เป็นต้นระบบภูมิคุ้มกันสามารถจำแนกออกเป็น 2 ระบบ ดังนี้
1. ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ได้รับมาแต่กำเนิด ( Innate Immunity ) หมายถึง ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ถูกสร้างขึ้นเอง และติดตัวมาตั้งแต่เกิด เช่น ส่วนของผิวหนัง เยื่อบุ และเยื่อเมือกต่าง ๆ ซึ่งเป็นปราการด่านแรก ในการป้องกันเชื้อโรค และเป็นภูมิคุ้มกันโรค ที่ได้รับการถ่ายทอด ผ่านทางพันธุกรรม ซึ่งส่งผลให้ทารกแรกเกิด มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ต่อโรคบางชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด และไข้ทรพิษ ซึ่งคงอยู่ได้ราว 3 เดือน ดังนั้น ความสมบูรณ์ของร่างกาย ของแต่ละบุคคล ตลอดจนเชื้อชาติ เพศ และอายุ จึงมีผลต่อระดับของ ภูมิคุ้มกันโรค ตามธรรมชาติระบบนี้
2. ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ได้รับมาภายหลัง ( Acquired Immunity ) หมายถึง ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ทำงานต่อเนื่อง มาจากระบบภูมิคุ้มกัน ที่ได้รับมาแต่กำเนิด เกิดขึ้นจากการที่ร่างกาย ได้รับสิ่งแปลกปลอม หรือการกระตุ้น จากวัคซีนต่าง ๆ เป็นระบบภูมิคุ้มกัน แบบจำเพาะเจาะจง ที่มีการจดจำลักษณะ ของสิ่งกระตุ้น และเมื่อร่างกาย ได้รับสิ่งแปลกปลอม หรือแอนติเจน ( Antigen ) ชนิดเดิมอีกครั้ง จะสามารถทำการ ตอบสนอง ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบภูมิคุ้มกัน ที่ได้รับมาภายหลัง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย ดังนี้
– ภูมิคุ้มกันแบบ เฉพาะเจาะจง ( Adaptive Immunity ) คือ กลไกการปรับตัว ตามธรรมชาติ จากการต่อต้านเชื้อโรค อาการเจ็บป่วย หรือสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ เช่น ภูมิต้านทานไข้ทรพิษ หัด อีสุกอีใส และคางทูม เป็นต้น เป็นภูมิคุ้มกันโรค ที่อาจคงอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจกลายเป็นภูมิคุ้ม กันตลอดชีวิต ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค และความสมบูรณ์ทางร่างกาย ของแต่ละบุคคล
– ภูมิคุ้มกัน จากภายนอก ( Passive Immunity ) คือ ระบบที่เกิดขึ้น จากการได้รับภูมิคุ้มกัน มาจากภายนอก โดยที่ร่างกาย ไม่ได้สร้างขึ้นเอง เช่น การได้รับภูมิคุ้มกัน ตามธรรมชาติ ของทารกจากการดื่มน้ำนมแม่ รวมไปถึงการฉีดเซรุ่ม และวัคซีนต่าง ๆ เข้าร่างกาย
ลักษณะ การทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกัน ภายในร่างกาย ของมนุษย์ มีด้วยกันมากมาย หลายระบบ ซึ่งแต่ละระบบ ต่างมีกลไกการทำงาน ที่แตกต่างกันออกไป โดยในทางชีววิทยา ลักษณะการทำงาน หลักของระบบภูมิคุ้มกัน สามารถจำแนกออก ตามความจำเพาะเจาะจงได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
– ระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ ( Non-Specific Defense Mechanism ) หมายถึง ระบบการกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายที่ไม่มีเป้าหมายเฉพาะและสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ พันธุกรรม ฮอร์โมน และความสมบูรณ์ทางร่างกายของแต่ละบุคคล ซึ่งส่งผลให้ระบบดังกล่าวมีความสามารถในการป้องกันและทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอย่างจำกัด
– ระบบภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ ( Specific Defense Mechanism ) หมายถึง ระบบการตอบสนองและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายอย่างจำเพาะเจาะจง ผ่านการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว 2 ชนิด คือ เซลล์บี ( B Cell ) และเซลล์ที ( T Cell ) ซึ่งจะจับกับแอนติเจนอย่างจำเพาะ พร้อมกระตุ้นให้เซลล์บีพัฒนาไปเป็นเซลล์พลาสมา ( Plasma Cell ) เพื่อทำหน้าที่สร้างแอนติบอดี ( Antibody ) ให้เข้าทำลาย สิ่งแปลกปลอม ดังกล่าวในร่างกายของมนุษย์ ภูมิคุ้มกันทั้ง 2 ระบบต่างทำงานประสานกัน ผ่านทางเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดและน้ำเหลือง รวมถึงในเนื้อเยื่อและอวัยวะสำคัญของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล และม้าม เพื่อป้องกัน ดักจับและกำจัดเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายและการรับโภชนาการที่เหมาะสมล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ngthai