เซลล์ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยประมาณแล้วคนเราจะมีเซลล์อยู่ถึง 100 ล้านล้าน เซลล์ ประกอบเป็นอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเราบางคนใช้วิธีหากินกับคำว่าสเต็มเซลล์ ทำให้มีหลายคนหลงเชื่อ เรามาดูความจริงเกี่ยวกับสเต็มเซลล์บำบัดกันค่ะ
ทำไมสเต็มเซลล์ถึงสำคัญสำหรับสุขภาพของคุณ
โดยปกติแล้ว เมื่อร่างกายเติบโตจากวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ เซลล์ที่เคยแข็งแรงก็จะค่อยๆ อ่อนแอลง ทำให้ร่างกายเจ็บป่วย หรือแสดงอาการผิดปกติออกมาครับ ในทุก ๆ วัน ร่างกายของคนเรา จะมีการตายของเซลล์ เกิดขึ้น เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุเพียง 120 วัน เซลล์ผิวหนังมีอายุ 28 วัน
และในเวลาที่เราบาดเจ็บหรือป่วย เซลล์ของเราก็บาดเจ็บหรือตายด้วย เมื่อเหตุการณ์พวกนี้เกิดขึ้น สเต็มเซลล์ก็จะเตรียมพร้อมทำหน้าที่ซ่อมแซมบาดแผล และสร้างเซลล์ใหม่ เพื่อมาทดแทนเซลล์เก่า ที่ตายไปตามเวลา เพราะฉะนั้นสเต็มเซลล์สำคัญกับร่างกายเรามาก ๆ เพราะมันทำหน้าที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราแก่ก่อนอายุ สเต็มเซลล์ก็เป็นเหมือนกองทัพแพทย์ตัวเล็ก ๆ ในร่างกายเราเลยค่ะ
ในคนที่ยังอายุน้อย สเต็มเซลล์จะสามารถแบ่งตัวมาทดแทน เซลล์ที่ตายเหล่านี้ ได้ทันไม่มีปัญหา แต่สำหรับคนที่อายุมากขึ้น ปริมาณสเต็มเซลล์ก็มีน้อยลง ทำให้การทดแทนเซลล์น้อยลง ร่างกายก็จะค่อย ๆ เสื่อม ไปในทุกอวัยวะ หรือที่เรามักเรียกกันว่าโรคชราค่ะ
ทำไมคนหันมาสนใจสเต็มเซลล์ ( STEM CELL )
มีการศึกษาถึงจำนวนของสเต็มเซลล์ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรงเบาหวาน และโรคเรื้อรัง พบว่า จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดของผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีจำนวนน้อยกว่าคนปกติ อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสรุปได้ว่าสเต็มเซลล์ของผู้ป่วยคงจะได้รับผลกระทบจากโรค เช่นเดียวกับเซลล์อื่น ๆ ทำให้เกิดความคิดว่า ถ้าเราสามารถเพิ่มจำนวนสเต็มเซลล์ให้กับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจจะช่วยป้องกันโรค หรือทำให้โรคที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้ ด้วยเหตุผลข้างต้น แพทย์จึงให้ความสนใจเรื่องสเต็มเซลล์ โดยมีความหวังว่า อาจจะสามารถนำมาช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ในมนุษย์ได้ ควบคู่กับการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวหลักการทำงานของสเต็มเซลล์เป็นยังไง กลไกการทำงานของสเต็มเซลล์นั้น เกิดหลังจากเซลล์ถูกฉีดเข้าสู่ร่างกาย เซลล์จะเดินทางไปที่อวัยวะที่เป็นแหล่งต้นกำเนิด เช่น เซลล์หัวใจจะวิ่งไปที่หัวใจ เซลล์ปอดจะไปที่ปอด เซลล์ตับก็จะกลับไปที่ตับ และเมื่อพบว่าเซลล์ของอวัยวะดังกล่าวเสื่อม สเต็มเซลล์ก็จะสร้างสารชีวภาพ หลากหลายชนิดขึ้นมา ซ่อมแซมเซลล์เก่า หรือเซลล์ที่เสื่อมเหล่านั้น
ความแตกต่างของสเต็มเซลล์ และเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
ย้ำอีกทีนะคะ ความแตกต่างของสเต็มเซลล์และเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ต่างกันตรงที่ความสามารถ ในการแบ่งตัวของเซลล์ สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ที่แบ่งตัวได้ไม่จำกัด ในเวลานาน ในขณะที่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ไม่สามารถแบ่งตัวได้ กล่าวคือไม่สามารถรักษา หรือพัฒนาเซลล์ตัวเอง ให้กลับมามีสภาพเหมือนปกติ หรือซ่อมแซมตัวเองได้นั่นเองค่ะ แต่เนื่องจากระยะเวลา ในการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์ ในห้องปฎิบัติการนั้น ค่อนข้างยุ่งยาก และใช้เวลานาน เพราะในหนึ่งครั้งของการรักษา ด้วยการฉีดสเต็มเซลล์เข้าสู่ร่างกายนั้น ใช้ปริมาณของเซลล์เป็นจำนวนมาก ความต้องการใช้จึงมากกว่ากำลังผลิต ทำให้ราคาค่อนข้างสูง และยังไม่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน
สเต็มเซลล์จากเซลล์ตัวอ่อน กับตัวเต็มวัยต่างกันยังไง ?
จำง่าย ๆ เลยค่ะ เซลล์เด็กยังไม่โตทำให้หน้าที่หลัก ๆ คือ แบ่งตัวเพื่อขยายขนาด และเพิ่มจำนวน ทำให้ร่างกายแต่ละส่วนโตขึ้น ส่วนเซลล์เต็มวัย จะไม่ทำหน้าที่แบ่งตัวละครับ แต่จะหันมาซ่อมแซมเซลล์ที่อักเสบ บาดเจ็บ หรือเสียหาย ให้กลับมาทำงานปกติค่ะ เพราะฉะนั้นต่างกันดังนี้
• เซลล์ตัวอ่อน สามารถพัฒนาไปเป็นอวัยวะ ต่างๆ ในร่างกายได้
• เซลล์โตเต็มวัย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นอวัยะต่างๆ ได้ แต่เน้นรักษาฟื้นฟูเซลล์ที่บาดเจ็บ เสียหาย
• เลือดจากน้ำคล่ำ ตัวนี้มันก็คล้ายกับเซลล์ตัวอ่อน ซึ่งสามารถพัฒนาไปเป็นแบบอื่นๆ ได้
แล้วที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เอาสเต็มเซลล์มาจากไหน
ถ้าเป็น Embryonic Stem Cell สามารถเก็บได้จากตัวอ่อน แต่การนำ embryonic stem cell มาใช้เสมือนเป็นการฆ่าตัวอ่อน จึงมีหลาย ๆ กลุ่มที่ไม่ยอมรับ แถมต่อต้านว่าผิดจริยธรรม ปัจจุบันเราจึงหันมาให้ความสนใจกับ Adult Stem Cell ซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เช่น เลือด ไขกระดูก เลือดจากสายรก ( สายสะดือ ) ไขมัน ฟันน้ำนม เรียกได้ว่า สามารถหาได้จากเกือบทุกอวัยวะในร่างกาย แต่แหล่งที่เอามา ก็จะมีข้อดี ข้อเสียในการนำมาใช้ แตกต่างกันไป
Stem Cell จากเลือด
เลือดของเราปกติ จะมี stem cell อยู่แล้วแต่ปริมาณน้อยมาก หากเราต้องการเร่งให้ไขกระดูกปล่อย stem cell ออกมาสู่ระบบเลือดให้มากขึ้น เราจะฉีด ยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว ที่เรียกว่า G-CSF ( Granulocyte Colony Stimulating Factor ) ข้อดีของวิธีนี้คือ เราสามารถเก็บ Stem Cell ได้ตามจำนวนที่ต้องการ แต่ข้อเสียคือ อาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา G-CSF และ stem cell ที่ได้จะมี T-cell ซึ่งเสมียนหน่วยความทรงจำว่าร่างกายเคยเป็นโรคอะไรมาแล้ว T-cell นี้อาจทำให้ร่างกายไม่ยอมรับการปลูกถ่าย และยิ่งอายุมากขึ้น ศักยภาพของ Stem cell ในร่างกายก็ลดลง
Stem cell จากเลือดในสายรก
การเก็บเลือดจากสายรก จะทำได้แค่ช่วงที่เด็กแรกคลอดเท่านั้น ข้อดี คือมีปริมาณ T-cell น้อยมาก เพราะเด็กยังไม่เคยสัมผัสโรค วิธีการจัดเก็บง่าย ไม่มีความเจ็บปวดทั้งแม่ และเด็ก แต่ข้อเสียคือปริมาณที่เก็บได้มีจำนวนน้อย จึงไม่เพียงพอต่อการใช้งานในหลาย ๆ กรณี
Stem cell จากไขกระดูก
ไขกระดูกถือเป็น แหล่งผลิตสเต็มเซลล์ เลยก็ว่าได้เพราะในกระดูกคนเรามี Stem cell มากเพียงพอ ที่จะเอามาใช้ ซึ่งในปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้ ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวาง หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินเรื่องการปลูกถ่ายไขกระดูกใช่ไหมคะ ปัจจุบันแพทย์สภาก็ให้การยอมรับเรื่องการรักษาโรคในระบบเลือดต่าง ๆ เช่น ลูคีเมีย หรือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกฝ่อ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคภูมิต้านทานผิดปกติบางชนิด และโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติของระบบเลือด แต่วิธีการนำมาใช้ยุ่งยาก และค่อนข้างเจ็บ โดยแพทย์ต้องวางยาสลบ เพื่อเจาะเข้าไปในกระดูกเชิงกรานให้ถึงไขกระดูก แล้วดูด stem cell ที่อยู่ในโพรงไขกระดูกออกมา คนไข้ต้องใช้เวลาพักฟื้นต่อที่บ้าน 5-7 วัน
สเต็มเซลล์ แบบไหนที่สามารถใช้ได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัย
ด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่าง ทำให้มีการพัฒนาการสกัด Stem Cell ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันแหล่งของ Stem Cell ที่ได้รับการยอมรับว่านำมาใช้ได้ผลมากที่สุด ถูกสกัดมาจากไขกระดูก เพราะคือแหล่งผลิต สเต็มเซลล์อยู่แล้ว ทำให้เซลล์ที่ได้จากไขกระดูก เป็นเซลล์ใหม่ที่มีคุณภาพมากที่สุด และมีการใช้ stem cell จากไขกระดูกมากนานกว่า 10 ปีแล้ว
สำหรับ stem cell ที่ได้จากไขกระดูก คือสเต็มเซลล์จากเนื้อเยื้อ ที่โตเต็มวัยแล้ว (Adult Stem Cell) จึงมีความปลอดภัย และมั่นใจได้ว่าเป็นเซลล์ เฉพาะเจาะจง สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เฉพาะ ในเนื้อเยื่อนั้น ๆ เท่านั้น ในปัจจุบันโรคที่ทางการแพทย์ยอมรับ และให้การรับรองว่าสามารถ ใช้เซลล์ต้นกำเนิดในการรักษา คือโรคในกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ในระบบเลือด เช่นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย โรคโลหิตจาง หรือทาลัสซีเมีย ซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากไขกระดูก ทำให้วงการแพทย์ มั่นใจ ใน stem cell ที่ได้จากไขกระดูก มากกว่าแบบอื่น ๆ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก dsskinclinic