ทุกวันนี้ไม่ว่าเราจะหันไปทางไหน ก็ได้ยินแต่คำว่า การเก็บสเต็มเซลส์จากทารก เต็มไปหมด ทั้งสรรพคุณ และคุณประโยชน์ ที่แทบจะเป็นของวิเศษ คือสามารถรักษาได้ทุกโรค แต่ในความเป็นจริงแล้ว สเต็มเซลล์จากทารก สามารถทำได้ขนาดนั้นจริงหรือ
สิ่งที่เรามักเข้าใจ คลาดเคลื่อน เกี่ยวกับสเต็มเซลล์คือ สเต็มเซลล์เหมือนกันหมด และสามารถรักษาได้ทุกโรค โดย สเต็มเซลล์ที่นำมาใช้ได้ ในปัจจุบันก็คือ สเต็มเซลล์เม็ดเลือด ใช้สำหรับนำไปรักษา โรคทางโลหิตวิทยาเท่านั้น เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ซึ่งสเต็มเซลล์เม็ดเลือด ก็เป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อย สเต็มเซลล์ ที่มีอยู่ในร่างกาย ของเรานั่นเอง
ในช่วง 20 ปีก่อนหน้านี้ มีการทดลองนำ สเต็มเซลล์เม็ดเลือด ไปเลี้ยงในหลอดทดลอง ให้กลายเป็นสเต็มเซลล์ อวัยวะอื่น ๆ เช่น สมอง หัวใจ เป็นต้น จนประสบผลสำเร็จ จึงเกิดความฮือฮาขึ้นมาว่า สามารถนำสเต็มเซลล์ มารักษาอวัยวะที่เสียหาย และรักษาทุกโรคได้ แต่คุณหมอให้ข้อสังเกตว่า การทำการทดลอง ในหลอดทดลอง หรือกับสัตว์ เราสามารถกำหนด ให้เป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น แต่โอกาสที่จะนำมาใช้ และประสบความสำเร็จในคน นั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย และทุก ๆ อย่างยังอยู่ในขั้นตอน ของการทดลอง และวิจัยเท่านั้น
สเต็มเซลล์แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. สเต็มเซลล์จากตัวอ่อน ( Embryonic Stem Cells ) คือการดึงเซลล์จากตัวอ่อนอายุไม่เกิน 2 สัปดาห์มาใช้ สเต็มเซลล์ชนิด นี้มีคุณสมบัติที่ดีมาก คือ สามารถพัฒนากลายเป็นเซลล์อวัยวะ หรือระบบอะไรก็ได้ในร่างกาย แต่ก็สามารถกลายเป็น เนื้องอกได้ด้วยเช่นกัน เพราะไม่สามารถกำหนดได้ว่า จะให้กลายเป็นอวัยวะใด ดังนั้นการนำมาใช้ในคนนั้น แทบเป็นไปไม่ได้เลย และไม่มีผลสำเร็จใด ๆ ยืนยันทั้งสิ้น รวมถึงยังเป็นข้อถกเถียง ทางด้านจริยธรรมอยู่
2. สเต็มเซลล์จากตัวโตเต็มวัย ( Adult Stem Cells ) คือสเต็มเซลล์จากทารก ในครรภ์ที่อายุเกิน 2 สัปดาห์แล้ว ไปจนถึงผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ โดยเป็นเซลล์ที่เฉพาะเจาะจง ประจำอวัยวะ หรือระบบนั้น ๆ แล้ว เช่น สเต็มเซลล์สมอง สเต็มเซลล์หัวใจ สเต็มเซลล์ปอด สเต็มเซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น ซึ่งหากต้องการจะใช้รักษาอวัยวะใด ก็ต้องนำสเต็มเซลล์จากอวัยวะนั้น ๆ มาใช้สรุปแล้ว สเต็มเซลล์ที่สามารถนำมา รักษาคนไข้ได้ และประสบความสำเร็จ เป็นที่ยอมรับ มีเพียงสเต็มเซลล์เดียว คือ สเต็มเซลล์เม็ดเลือด ที่มาจากสเต็มเซลล์ตัวโตเต็มวัย และนำมารักษาโรคทางโลหิตวิทยาได้เท่านั้น
การเก็บสเต็มเซลส์ ( STEM CELL BANKING ) จากทารกแรกเกิด คืออะไร ?
การเก็บสเต็มเซลล์ ( STEM CELL BANKING ) คือ เก็บเลือดจากสายสะดือ กับ เก็บวุ้นจากสายสะดือ ของทารกแรกเกิด โดยเชื่อว่าเลือดจากสายสะดือ และวุ้นจากสายสะดือ นั้นยังเป็นเซลส์ตัวอ่อน ที่ยังไม่มีการแบ่งตัว เป็นเซลส์ใด ๆ ทั้งสิ้น สามารถนำมาทำ เป็นเซลส์ต้นกำเนิด และใช้ในการรักษา ความผิดปกติในอนาคตได้
ทางเลือกในการ เก็บสเต็มเซลล์ ( STEM CELL BANKING ) จากเลือดในรก และสายสะดือมีอะไรบ้าง ?
1 Public banking คือ การเก็บสเต็มเซลล์ ในรูปแบบของการบริจาค ให้กับศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทย การเก็บในรูปแบบนี้ มีวัตถุประสงค์ เหมือนกับการ บริจาคเลือดค่ะ ไม่เจาะจงตัวผู้รับ โดยคุณแม่สามารถ แจ้งความจำนง ไปที่ศูนย์บริการโลหิตฯ ได้ เมื่อคลอดลูกทาง ศูนย์บริการโลหิตฯ จะรีบมารับสเต็มเซลล์ ไปเก็บรักษา โดยที่ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ค่ะ
2 Private banking คือ การเก็บสเต็มเซลล์ ไว้เพื่อตัวเองและครอบครัว กรณีนี้ทางศูนย์บริการโลหิตฯ จะไม่มีหน้าที่ดำเนินการให้ค่ะ แต่จะมีบริษัทเอกชน เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งจะต้องติดต่อไปที่บริษัท ทำสัญญา และมีค่าใช้จ่าย และค่าบริการายปี ที่ค่อนข้างสูงค่ะ
การเก็บรักษา
ช่วงทารกแรกคลอด บริษัทสเต็มเซลส์ จะส่งคนมาพร้อมถุง และเครื่องมือในการเก็บ และจะเก็บเลือดเก็บชิ้นเนื้อ ตรงสายสะดือของทารกแรกเกิด แล้วนำไปแช่แข็งที่ไนโตรเจนเหลว ที่อุณหภูมิแช่แข็ง โดยปัจจุบันสามารถการันตี การเก็บได้ที่ 20 ปี
ประโยชน์ และจุดประสงค์ในการทำ
หากให้เปรียบเทียบ ก็คล้ายกับการทำประกันชีวิต เพราะเราไม่ทราบว่าในอนาคต ลูกเราจะเป็นอะไรหรือไม่ หรือจะได้นำมาใช้ประโยชน์ไหม แต่ทั้งนี้ก็สามารถใช้ในการ รักษาโรคในอนาคตของเด็กได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคเลือด โรคเลือดจาง ธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ทั้งนี้ ก็จะมีข้อเสียในแง่หลักการแพทย์อย่างหนึ่ง ว่าหากเป็นโรคมะเร็ง ถ้านำสเต็มเซลส์กลับมาใช้ ในเด็กคนเดิม ก็ยังไม่แน่ใจว่า เซลส์มะเร็งนั้นมีมาตั้งแต่ เซลส์ต้นกำเนิดหรือเปล่า หรือจะกลับมาเป็นมะเร็งได้อีกไหม ก็ยังไม่มีการการันตี แต่ ณ ปัจจุบันนี้สถิติที่เด็กได้ใช้ประโยชน์ จากเสต็มเซลส์ในอนาคตในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณหนึ่งในพัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก maerakluke