ความหวังเดียว ที่จะรักษาผู้ป่วย โรคทางโลหิต ให้หายขาดได้ในปัจจุบัน คือ การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ซึ่งไม่เป็นอันตราย ต่อผู้บริจาคและผู้ได้รับ แล้วถ้าอยากจะบริจาคล่ะ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
การบริจาคเลือด หรือ การบริจาคโลหิต เป็นคำที่เราต่างได้ยินกันจนคุ้นชิน แต่ การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) เชื่อว่าหลายคนอาจไม่เคยได้ยิน หรือเคยได้ยินแล้ว แต่พอรู้ความหมายเพียงแค่ว่า เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งเป็นเซลล์ตัวอ่อนของเลือด ที่อาศัยในไขกระดูก และจะเจริญเติบโต ไปเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งหล่อเลี้ยงอยู่ในร่างกาย ก็กลัวกันแล้วว่าจะยุ่งยาก เสียเวลา และอาจจะต้องพักฟื้น แต่ความจริงแล้วการบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) นั้น ทำได้ง่ายกว่าที่คิด
เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) คืออะไร ?
เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) เป็นเซลล์ตัวอ่อนของโลหิต ซึ่งอาศัยในไขกระดูก และจะเจริญเติบโต ไปเป็นเม็ดโลหิตแดง เม็ดโลหิตขาว และเกล็ดโลหิต ซึ่งหล่อเลี้ยงอยู่ในร่างกาย เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต สามารถบริจาคให้บุคคลอื่น ได้โดยไม่เป็นอันตราย ต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด และเป็นความหวังเดียว ที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิต ให้หายขาดได้ในปัจจุบัน โรคที่สามารถรักษาได้ ด้วยการปลูกถ่าย Stem Cell เช่น โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย, โรคโลหิตจางชนิดไขกระดูกฝ่อ,โรคมะเร็งเม็ดโลหิตขาวเฉียบพลัน / เรื้อรัง ,โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นต้นปัจจุบัน เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ขาดแคลนมาก นอกจากไม่ค่อยมีผู้บริจาคแล้ว เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ที่มีผู้บริจาคมา ก็ต้องเข้ากันได้กับ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ของผู้ป่วยด้วย เรียกได้ว่าเป็นการ ตามหาคู่แท้ เลยก็ว่าได้ ดังนั้น หากคุณเป็นคนหนึ่ง ที่ต้องการให้ชีวิตใหม่ แก่ผู้ป่วยที่รอคอยอยู่ สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของคุณก่อน ได้แก่
ตรวจสอบคุณสมบัติ ก่อนบริจาค เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell )
– เป็นผู้บริจาคโลหิต
– อายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ -50ปี
– เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง
– ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศวิธีบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell )
การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) มี 2 วิธี ซึ่งปัจจุบันนี้นิยมวิธีการบริจาค เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทางหลอดโลหิตดำ ( Peripheral Blood Stem Cell Donation ) เพราะง่าย และสะดวกสำหรับผู้บริจาค โดยผู้บริจาคสามารถ เลือกวิธีบริจาคได้ หรืออาจจะได้รับการ ร้องขอจากแพทย์ ให้บริจาคด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ก่อนการบริจาค ต้องมีการตรวจสุขภาพ ของผู้บริจาค ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. การบริจาค เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทางหลอดโลหิตดำ ( Peripheral Blood Stem Cell Donation )
โดยปกติในกระแสโลหิต จะมีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) อยู่น้อยมาก ในขั้นแรกจึงต้องฉีดยา G – CSF 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ออกจากไขกระดูก ( Bone Marrow ) มากระจายในกระแสโลหิต ให้มากพอ จึงจะเข้ากระบวนการ เก็บเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ซึ่งคล้ายกับวิธีการ เก็บเกล็ดโลหิต หรือน้ำเหลือง ( Plasma ) โดยนำโลหิตผ่านเข็ม ที่แทงอยู่ในเส้นเลือดดำ ( Vein ) เข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator ที่จะแยกเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ทั้งนี้จะใช้เวลาเก็บครั้งละ 3 ชั่วโมง และอาจจะต้องมาเก็บ 2 – 3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ น้ำหนักของผู้ป่วย
2. การบริจาคไขกระดูก ( Bone Marrow Donation )
เป็นกระบวนการเก็บ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต จากโพรงไขกระดูกโดยใช้ เข็ม และกระบอกฉีดยา เจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน ซึ่งดำเนินการเก็บ ในห้องผ่าตัด กระบวนการนี้ จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่จะถึงกระบวนการ เจาะเก็บข้างต้น ผู้บริจาคอาจต้องบริจาคโลหิตเก็บไว้ และจะนำมาให้ หลังจากที่ได้เจาะเก็บ ไขกระดูกเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ร่างกายสามารถ สร้างเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ( Stem Cell ) ขึ้นมาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว และหลังทำแผลแล้ว ผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ ในวันรุ่งขึ้น และควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5 – 7 วัน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก workpointtoday