โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงส่วนของสมองบางส่วนหรือหลายส่วนลดลงหรือถูกขัดขวางอย่างสมบูรณ์ การอุดตันนี้อาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวรและอาจเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ

  1. โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (ischaemic stroke) เกิดจากการที่ลิ่มเลือดขัดขวางเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง
  2. โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic stroke) เกิดจากการที่หลอดเลือดแตกและเลือดไหลเข้าสู่สมอง

สมองทุกส่วนนั้นต้องการเลือดไปเลี้ยงในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อทำงานได้อย่างเต็มที่เมื่อการไหลเวียนของเลือดถูกจำกัดหรือหยุดลง สารอาหารที่สำคัญและออกซิเจนจะไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ในสมองได้ ซึ่งสมองจะได้รับความเสียหายหรือตายลง ผลที่เกิดกับร่างกายนั้นขึ้นอยู่กับส่วนของสมองที่เสียหาย และระยะเวลาที่เกิดการขัดขวางการไหลเวียนเลือด

โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

Ischemic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองตีบตัน” หรือ “ภาวะสมองขาดเลือด” พบได้ประมาณ 80% ของโรคหลอดเลือดสมอง มีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบไขมัน หินปูน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นในจนหนานูน แข็ง ขาดความยืดหยุ่น ทำให้รูของหลอดเลือดค่อย ๆ ตีบแคบลง ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการลำเลียงเลือดลดลง หรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดจากหัวใจ หรือการปริแตกของผนังหลอดเลือดหลุดมาอุดตันหลอดเลือดในสม

Hemorrhagic Stroke เป็น “ภาวะหลอดเลือดสมองแตก” หรือ “ภาวะเลือดออกในสมอง” ส่งผลให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บจากการมีเลือดคั่งในเนื้อสมอง ทำให้เนื้อสมองตายมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดมีความเปราะเเละโป่งพอง และสาเหตุอื่นๆ ที่พบได้ เช่น ภาวะโป่งพองของหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ เช่น โรคเลือด โรคตับ การรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การได้รับสารพิษ การใช้สารเสพติด เป็นต้น

Transient ischemic attack (TIA) เป็น “ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว” มีอาการคล้ายโรคสมองขาดเลือด แต่มีอาการชั่วคราวมักเป็นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ประมาณ 15% ของผู้ป่วยที่มีอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว จะมีภาวะโรคหลอดเลือดสมองตามมาจึงถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบมาโรงพยาบาล เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

โรคหลอดเลือดสมองสามารถส่งผลต่อการเคลื่อนไหว การพูดกระบวนการคิด และความจำ ซึ่งสามารถทำให้เกิดอัมพาตกับส่วนหนึ่งของร่างกายหรือหลายส่วน หรือสูญเสียการควบคุมการทำงานของร่างกายได้

ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เราสามารถปองกันได้ โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ซึ่งปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมีดังนี้

     – ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 140/90 mmHg ในผู้ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี, เป็นเบาหวาน หรือเป็นโรคไตวายเรื้อรัง และควรควบคุมความดันโลหิตให้น้อยกว่า 150/90 mmHg ในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี

      – โรคเบาหวาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารให้อยู่ระหว่าง 80 – 130 mg/dl หรือ น้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7 เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดในร่างกาย

      – คอเลสเตอรอลในเลือดสูง การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง จะทำให้ร่างกายมีค่าไขมันไม่ดี (LDL) ในเลือดสูงซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

      – โรคอ้วน ควรควบคุมน้ำหนักให้มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ในช่วง 18.5 – 25 ซึ่งคำนวณโดยวัดน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

      – การขาดการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 – 40 นาที เป็นจำนวน 3 – 4 ครั้ง/ สัปดาห์

      – การสูบบุหรี่จัดและการดื่มสุราเป็นประจำ ผู้ชายที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 2 หน่วย ( standard drink)/ วัน หรือมากกว่า 14 หน่วย/ สัปดาห์ ผู้หญิงที่ดื่มแอลกอฮอล์เกิน 1 หน่วย ( standard drink)/ วัน หรือมากกว่า 7 หน่วย / สัปดาห์ จะเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยที่ 1 standard drink มีค่าเท่ากับ 10-12 กรัมของ ethanol alcohol เช่น 1 standard drink ของเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ 4% จะมีปริมาณเท่ากับ 300 ml เป็นต้น

      – การหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ผู้ที่มีประวัติหยุดหายใจขณะนอนหลับตอนกลางคืน ซึ่งพบได้บ่อยในคนที่นอนกรนดังๆ หรือมีน้ำหนักตัวมากๆ ควรมาพบแพทย์เพื่อทำ sleep test ดูว่ามีออกซิเจนในเลือดต่ำในช่วงนอนหลับหรือไม่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตามมาได้

      – หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอตีบ พบในผู้ที่มีอายุมาก มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เป็นความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการทำอัลตร้าซาวนด์ดูหลอดเลือดบริเวณคอ

      – หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือมีลิ้นหัวใจผิดปกติ สามารถทำให้เกิดลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือดสมองได้ สามารถตรวจคัดกรองได้โดยการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง (echocardiogram)

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 40% จะมีอาการถาวรซึ่งทำให้ต้องการ การดูแลเป็นพิเศษนอกจากนี้ ยังพบว่า มีผู้ป่วยหลายคนที่อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อหายจากโรคนี้ แต่มีเพียง 10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะหายอย่างสมบูรณ์

โรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในทุกช่วงอายุ แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงบางประการที่สำคัญเช่นกัน เช่น โอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น บางชาติพันธุ์จะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ที่มากกว่าและการมีประวัติการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในครอบครัวจะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคนี้ด้วย

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยความเสี่ยงบางอย่างที่เราสามารถลดได้จากการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตของเรา เช่น คอยดูแลและรักษาความดันเลือดให้ปกติ กินอาหารสุขภาพที่มีไขมันและเกลือต่ำ หยุดสูบบุหรี่และออกกำลังกายเป็นประจำ

เซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) จะช่วยรักษาโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างไร

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยฟื้นสภาพจากโรคหลอดเลือดในสมองได้ลำบากเนื่องจากโรคนี้ทำหลายเซลล์ในสมองหลายชนิด นั่นหมายความว่าถ้าเราต้องการพัฒนาการรักษาเพื่อทดแทนเซลล์ที่เสียหายหรือถูกทำลายไป เราจะต้อง

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้ทำการศึกษาวิธีการใช้เซลล์ต้นกำเนิดนี้ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโดยวิธีการอื่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดนี้อาจใช้เพื่อพัฒนายาชนิดใหม่ที่สามารถกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมตัวเองของสมอง รวมถึงเซลล์ต้นกำเนิดเองเพื่อใช้สร้างเซลล์ใหม่ที่ต้องการสำหรับการฟื้นตัว

เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (Mesenchymal stem cell) และโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (MSC) เป็นหนึ่งในเซลล์ต้นกำเนิดชนิดที่ใช้ในการวิจัยทางคลินิคเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองบ่อยครั้ง เป็นเซลล์ที่จัดหาได้ง่ายและเจริญจากไขสันหลังของผู้ป่วยได้ และสามารถผลิตไขมัน กระดูกอ่อน และเซลล์กระดูกได้

เราสามารถหาเซลล์ที่ลักษณะเหมือนกับเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์จากแหล่งอื่นได้ เช่นสายสะดือ (umbilical cord) และเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) แม้ว่าลักษณะเฉพาะและธรรมชาติของเซลล์เหล่านี้จะยังคงเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิทยาศาสตร์

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์จากไขสันหลังและเซลล์ที่ได้จากเนื้อเยื่อไขมันได้ถูกนำมาทดลองฉีดเข้าสู่สมองและหลอดเลือดดำบริเวณขาของหนูที่มีอาการบาดเจ็บทางสมองคล้ายโรคหลอดเลือดสมอง

ในการศึกษานี้สัตว์ที่ได้รับการฉีดเซลล์มีขนาดของพื้นที่สมองที่เสียหายลดลงเมื่อเปรียบเทียบ กับกลุ่มสัตว์ที่ไม่ได้รับการฉีดเซลล์ พบว่าเซลล์ที่ถูกฉีดนี้จะเคลื่อนที่ไปยังบริเวณของสมองที่เสียหายได้

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร

Dotstemcell มุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานชั้นเลิศสู่การบริการรับฝากเก็บเซลล์ต้นกำเนิด เพื่อตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดสำหรับทุกครอบครัว การเก็บรักษาสเต็มเซลล์ถือเป็นการลงทุนที่ดีให้กับอนาคตและสุขภาพที่ไม่สามารถประเมินค่าได้

ทั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะมีการเตรียมตัวในเรื่องสุขภาพที่ดีเพียงใด ก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงอาการเจ็บป่วยและความเสื่อมถอยของร่างกายตามอายุการใช้งานได้ เพราะเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ความเสื่อมของเซลล์หรืออวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายย่อมมีมากขึ้นตามลำดับ

การเก็บรักษาสเต็มเซลล์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้บิดามารดาสามารถเก็บรักษาเซลล์ต้นกำเนิดอันมีค่าที่เป็นหนึ่งเดียวกับทารกและมีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับคนในครอบครัว ไว้สำหรับการรักษาโดยเทคโนโลยีใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเซลล์ต้นกำเนิดในอนาคต เช่นนำไปรักษาโรคหัวใจ หรือโรคอัลไซเมอร์

นอกจากนี้ สเต็มเซลล์ที่ถูกเก็บรักษา ยังเปรียบเสมือนอวัยวะสำรองสำหรับการรักษาโรคมะเร็ง หรือโรคเลือดที่สามารถรักษาให้หายได้โดยใช้สเต็มเซลล์