อยากบริจาคสเต็มเซลล์ ต้องทำอย่างไร อันตรายไหม?

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

สเต็มเซลล์ เป็นเซลล์ตัวอ่อนของโลหิตในไขกระดูกของทุกคน สามารถบริจาคให้บุคคลอื่นได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด และยังเป็นความหวังเดียวที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบันสเต็มเซลล์ เป็นเซลล์ตัวอ่อนของโลหิตในไขกระดูกของทุกคน สามารถบริจาคให้บุคคลอื่นได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด และยังเป็นความหวังเดียวที่จะรักษาผู้ป่วยโรคทางโลหิตให้หายขาดได้ในปัจจุบัน

สเต็มเซลล์เเบบไหนที่จะบริจาคได้
การบริจาคสเต็มเซลล์ให้กันละกันได้นั้น ผู้บริจาคและผู้รับต้องมี เนื้อเยื่อเม็ดเลือดขาวตรงกัน (HLA) โดยถ้าเป็นสเต็มเซลล์จากพี่น้องท้องเดียวกัน จะมีความเข้ากันได้เพียง 25 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น หรือปริมาณ 1 ใน 4 เท่านั้น ใช่ว่าจะสามารถบริจาคสเต็มเซลล์ให้กันได้ง่ายๆนะ เเต่ถ้าในกรณีที่ไม่ได้เป็นญาติกัน มีโอการที่สเต็มเซลล์สามารถเข้ากันได้ดี เพียงแค่ 1:10,000 เป็นอย่างต่ำ ยิ่งยากเข้าไปอีก ดังนั้นผู้ป่วยที่ต้องการรอการปลูกถ่ายต้องรอนานมาก ๆ เลย
บริจาคสเต็มเซลล์ด้วยวิธีอะไรได้บ้าง ข้อมูลจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาติไทย ระบุว่า การบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดมี 2 วิธี ดังนี้

1. การบริจาคสเต็มเซลล์ทางหลอดโลหิตดำ (Peripheral Blood Stem Cell Donation)
โดยปกติในกระแสเลือดจะมีเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem Cell) อยู่น้อยมาก ในขั้นแรกจึงต้องฉีดยา G-CSF 4 วัน เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (Stem Cell) ออกจากไขกระดูก (Bone Marrow) มากระจายในกระแสเลือดให้มากพอ จึงจะเข้ากระบวนการเก็บสเต็มเซลล์
ซึ่งคล้ายกับ วิธีการเก็บเกล็ดเลือด หรือน้ำเหลือง(Plasma) โดยนำโลหิตผ่านเข็มที่แทง อยู่ในเส้นเลือดดำ(Vein) เข้าสู่เครื่อง Automated Blood Cell Separator ที่จะแยกเฉพาะเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ทั้งนี้จะใช้เวลาเก็บครั้งละ 3 ชั่วโมง และอาจจะต้องมาเก็บ 2-3 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้ป่วย2. การบริจาคไขกระดูก (Bone Marrow Donation)
เป็นกระบวนการเก็บสเต็มเซลล์จากโพรงไขกระดูกโดยใช้เข็ม และกระบอกฉีดยาเจาะเก็บจากบริเวณสะโพกด้านหลัง (บริเวณขอบกระดูกเชิงกราน) ซึ่งดำเนินการเก็บในห้องผ่าตัด กระบวนการนี้ จะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งก่อนที่จะถึง กระบวนการเจาะเก็บข้างต้น ผู้บริจาคอาจต้องบริจาคโลหิตเก็บไว้ และจะนำมาให้หลังจากที่ได้เจาะเก็บไขกระดูกเรียบร้อยแล้วทั้งนี้ ร่างกายสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตขึ้น มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว และหลังทำแผลแล้วผู้บริจาคสามารถกลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น และควรพักฟื้นร่างกายประมาณ 5-7 วัน เเต่อาสาสมัครจะเลือกใช้วิธีใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริจาคและความคิดเห็นของเเพทย์นะครับ เพราะก่อนการบริจาคต้องมีการตรวจสุขภาพของผู้บริจาคทุกครั้งอยากบริจาคสเต็มเซลล์ต้องทำอย่างไร ? ก่อนอื่นเราต้องมาดูคุณสมบัติของอาสาสมัครที่ ต้องการบริจาคสเต็มเซลล์กันก่อน ข้อมูลจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาติไทย ระบุไว้ ดังนี้ เป็นผู้บริจาคเลือด อายุระหว่าง 18 ปีบริบูรณ์ -50ปี เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง และไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงหลังจากนั้น ต้องทำการการลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคสเต็มเซลล์ ลงทะเบียนบริจาคเลือด และตรวจความเข้มข้นโลหิต และตรวจวัดความดันโลหิต ผู้สนใจลงทะเบียนเป็นอาสาสมัครบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (ติดต่อเคาน์เตอร์ประชาสัมพันธ์ ก่อนไปบริจาคโลหิต ชั้น 2)เมื่อทำการตรวจร่างกาย และลงทะเบียนเรียบร้อยเเล้ว ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จะทำการเก็บตัวอย่างโลหิตประมาณ 5 มิลลิลิตร พร้อมการบริจาคโลหิต เพื่อนำไปตรวจลักษณะเนื้อเยื่อ ( HLA or Tissue typing )และเก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ก่อน หากผู้บริจาคมีลักษณะเนื้อเยื่อ HLAเข้ากันได้กับผู้ป่วยแล้ว ศูนย์บริการโลหิตฯ จะเชิญอาสาสมัครมาบริจาคสเต็มเซลล์ในภายหลัง ซึ่งการบริจาคสเต็มเซลล์ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาคแต่อย่างใด แต่กลับช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ เสมือนได้เกิดใหม่

บริจาคสเต็มเซลล์ที่ไหนดี ?
ต้องมาที่นี่เลย ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย โทร. 0-2256-4300 หรือ 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1771 และ 1777 ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น. และวันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 15.30 น. หรือติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ e-mail : stemcell@redcross.or.th เว็บไซต์ :www.stemcellthairedcross.comขอบคุณข้อมูลจาก goodlifeupdate

0
    0
    Your Cart
    Your cart is emptyReturn to Shop