โรคข้อเสื่อม มันเกิดขึ้นได้อย่างไรกันนะ

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อย ในช่วงเข้าสู่วัยกลางคน และ พบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมาก ขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะของโรค เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลงอย่างช้าๆจนเป็นเหตุให้มีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างของข้อ นั้นเอง

โรคข้อเสื่อม คือโรคที่มี ความผิดปกติ ของข้อที่พบ ได้บ่อยในช่วงเข้า สู่วัยกลางคน และ พบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมาก ขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะ ของโรคเกิดจาก กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายลง อย่างช้าๆ จนเป็นเหตุให้มีการ เปลี่ยนแปลง ของโครงสร้างของข้อ ซึ่งได้แก่ มีน้ำสะสม ในข้อเพิ่มขึ้น กระดูกงอกผิดปกติ กล้ามเนื้อ และ เอ็นรอบข้อหย่อนยาน การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดดังกล่าวจะ ทำให้เคลื่อนไหว ข้อได้จำกัดรวมทั้งทำให้เกิดอาการปวด และ บวมที่ข้อได้

โรคข้อเสื่อม พบบ่อย ในตำแหน่ง ของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อ กระดูกสันหลัง เป็นต้น ข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อม มักทำให้เกิดความรำคาญ เนื่องจากจะทำให้มีอาการปวด หรือ ไม่สบายข้อเมื่อต้องยืนหรือเดิน ในขณะที่ข้อ ต่อกระดูกสัน หลังเสื่อม จะเป็นเหตุให้ปวดหลัง และ ปวดต้นคอหรือคอแข็งตึงได้ แม้ว่าข้อเสื่อมจะพบในข้อที่ต้องรับน้ำหนัก แต่ก็ สามารถพบที่ข้อต่างๆ ทั่วร่างกายได้โดยเฉพาะ ข้อที่เคยได้รับการ บาดเจ็บ มีการติดเชื้อ หรือ เคยมีข้ออักเสบนำมาก่อน สำหรับ ผู้ป่วยข้อนิ้วมือเสื่อมจะ มีอาการปวด ชา หรือแข็งตึง ขยับนิ้วลำบาก และ ตรวจพบก้อนหรือปุ่มกระดูกโตขึ้นที่บริเวณข้อนิ้วมือด้วย ส่วนใหญ่ อาการปวดของโรคข้อเสื่อม มักเกิดในระหว่าง ที่มีการใช้งานของข้อ และ จะดีขึ้นเมื่อได้พัก อาจมีอาการฝืดตึงข้อช่วงสั้นๆ ไม่นาน เกินกว่าครึ่งชั่วโมง ในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือ ภายหลังอยู่ในอิริยาบถท่าใดท่าหนึ่งนานๆเช่น หลังจากขับรถ เป็นต้น สำหรับผู้ป่วย โรคข้อเสื่อมที่ มีอาการรุนแรงมาก ก็อาจมีอาการปวด ข้ออย่างมาก และ รุนแรงเมื่อใช้งาน รวมทั้งขาดความมั่นคงหรือเสถียรภาพของข้อได้

โรคข้อเสื่อม เกิดขึ้นได้อย่างไรตามปกติภาย ในข้อประกอบไปด้วยเยื่อบุข้อ น้ำไขข้อ และ กระดูกอ่อนผิวข้อ กระดูกอ่อนผิว ข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อ และ ป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้ กระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝั่ง หาก กระดูกอ่อนผิวข้อเหล่านี้ ถูกทำลายไม่ว่าด้วย สาเหตุใดก็ตามน้ำหนัก หรือ แรงกดที่กระทำกับข้อ ก็ จะส่งผลให้ กระดูกใต้ ต่อกระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน กล้ามเนื้อ และ เอ็นรอบข้อถูกยืด เป็นเหตุให้เกิดอาการ ปวดตามมา ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอะไรเป็นสาเหตุทำให้ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย แต่ปัจจัยที่น่าจะมี ส่วนร่วมทำให้ กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลาย ได้แก่น้ำหนักตัว การที่มีน้ำหนักตัวมากจะส่งผลให้ เกิดแรงกดภายในข้อ ที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย กิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกดมากจนเกินไป เช่น การนั่งคุกเข่า หรือ นั่งพับเพียบ ปัจจัยทางพันธุกรรม โดย เฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติข้อ และ กระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอ อายุ อายุมากมีโอกาสพบโรคข้อเสื่อม มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายก็ไม่พบโรคข้อเสื่อม

ใครมีโอกาสเป็น โรคข้อเสื่อมได้บ้างจริงๆ แล้ว โรคข้อเสื่อม สามารถพบ ได้ทุกวัย แต่พบในผู้สูงอายุได้บ่อยกว่ามาก จากการ ศึกษาพบว่าผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี ตรวจพบลักษณะ ข้อเสื่อมจากภาพถ่าย รังสีได้ร้อยละ 70 แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่มีอาการผิดปกติ โรคข้อเสื่อมพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายโดยเฉพาะข้อเข่าเสื่อมและข้อนิ้วมือเสื่อม

โรคข้อเสื่อม จะวินิจฉัยได้อย่างไรผู้ที่สงสัยว่าน่าจะเป็นโรคข้อเสื่อมคือผู้ที่มีอาการปวดข้อในขณะที่มีการใช้งาน แพทย์จะยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายพบปุ่มกระดูกบริเวณข้อ ข้อบวมขึ้น มีเสียงลั่นในข้อเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อ กล้ามเนื้อรอบข้อลีบหรืออ่อนแรง และข้อขาดความมั่นคง โดยภาพถ่ายรังสีที่ผิดปกติจะช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น อย่างไรก็ตามบางรายมีความจำเป็นต้องตรวจเลือดเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยแยกว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นๆ

โรคข้อเสื่อม รักษาอย่างไรกันนะเป้าหมาย ของการรักษาคือ ลดอาการปวด และ รักษาการทำงานของข้อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ การรักษาจึงไม่เพียงแค่ให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น แต่จะต้องรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อมรุนแรงการรักษาด้วยการผ่าตัดจะมีบทบาทสำคัญ เพื่อทำให้การทำงาน ของข้อดีขึ้นได้ในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาโรค ข้อเสื่อมหลาย รูปแบบ ทั้งชนิดทาภายนอก ฉีดเข้าข้อและรับประทาน ยาทาภายนอกได้แก่ เจล ที่ทำจากส่วนประกอบของ พริกหรือ capsaicin gel ยารับประทานได้แก่ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่ ยาสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดและลดอาการข้อบวม สำหรับอาการ ปวดที่รุนแรงอาจต้องพึ่งยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอนุพันธ์ของมอร์ฟีน สำหรับกา รฉีดยาสเตียรอยด์ หรือ น้ำไขข้อเทียม (hyaluronic acid) นั้นจะมีประโยชน์ ในโรคข้อเสื่อมบางชนิดและในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น

จะดูแลตนเองเมื่อเป็น โรคข้อเสื่อมได้อย่างไรโรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่ผู้ที่เป็นโรคข้อเสื่อม สามารถ ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ให้เหมาะสมขึ้นได้ เช่น การปรับเตียงให้สูงขึ้น เปลี่ยนจากส้วมซึมชนิดนั่งยองๆ เป็นชักโครกแทน เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยง การทำให้ข้อ บาดเจ็บซ้ำๆ หรือ การกระทบกระแทกต่อข้อ การออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ จะมีส่วนช่วยทำให้ กล้ามเนื้อ รอบข้อแข็งแรงขึ้น การออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้าง ความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อต้นขา จะมีส่วนช่วยในการป้องกัน การเกิดข้อเข่าเสื่อมได้ นอกจากนี้ผู้ที่มีรูปร่างอ้วน การลดน้ำหนักลง จะช่วยลดอาการปวด และ ชะลอการทำลายข้อลง ได้

ข้อควรจำ
โรคข้อเสื่อม เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุด โรคข้อเสื่อม สามารถพบร่วมกับโรคข้ออักเสบ อื่นได้ ผู้ที่สงสัยเป็นโรคข้อเสื่อมควรได้รับการประเมิน จากแพทย์เพื่อยืนยัน การวินิจฉัย และวางแผนการรักษาเพื่อ ช่วยบรรเทาอาการปวด และคงการทำงานของข้อ ในปัจจุบันยังไม่มี การรักษาใดที่พิสูจน์ว่า สามารถทำให้ข้อเสื่อมหายขาดหรือทำให้ข้อกลับคืนสู่สภาพปกติได้ คงต่อรอการศึกษาต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก thairheumatology

0
    0
    Your Cart
    Your cart is emptyReturn to Shop