ก่อนทำ สเต็มเซลล์ มีความเสี่ยงไหม

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

สำหรับใครหลาย ๆ คน ที่อยากจะสวยด้วย สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) ว่าดีจริงไหม ใช้แล้วเป็นยังไง วันนี้เรามีบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาให้ท่านที่สนใจ หรือกำลังจะไปทำสเต็มเซลล์ ได้รู้จัก และรู้ว่าสเต็มเซลล์มีดีแค่ไหน มาชมกันเลย

สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) หรือเรียก เซลล์ต้นกำเนิด หรือ เซลล์บำบัด หรือ เซลล์ต้นตอ คือ เซลล์อ่อนที่พร้อมแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในร่างกายของมนุษย์
โดยเซลล์ต้นกำเนิด แต่ละเซลล์จะพัฒนาเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อไต เซลล์กล้ามเนื้อตับ และ เซลล์สมอง เป็นต้น เมื่อเซลล์เหล่านี้ตาย หรือ เสื่อมลงไปจะไม่มีเซลล์ใหม่มาทดแทน หรือ ไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาเหมือนเดิมได้ แต่ในร่างกายของมนุษย์ยังมีเซลล์อีกชนิดที่สามารถเติบโต และ พัฒนาทดแทนเซลล์เหล่านี้ได้ หรือเรียกว่า สเต็มเซลล์ ( Stem Cell ) สเต็มเซลล์ เป็นชื่อสร้างปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีชื่อเป็นภาษาละตินว่า ( Cellula praecursoria ) ที่ให้ความหวังว่าจะสามารถรักษาโรคได้ทุกโรค มันเป็นชื่อของสิ่งมหัศจรรย์ในโลกยุคใหม่ ไม่แปลกที่ไม่นานต่อมา สเต็มเซลล์จะกลายมาเป็นความเชื่อของสิ่งวิเศษ ที่สามารถเสริมความงาม กระชากวัย จนมีข่าวว่า ดาราหลายคนบินรัดฟ้าไปฉีดสเต็มเซลล์ ที่ดึงเอาความเยาว์วัยกลับมากันหลายคน

แหล่งที่เข้าถึงได้ของสเต็มเซลล์ ( autologous ) ในมนุษย์ มี 3 แหล่ง คือ
1. ไขกระดูก เป็นแหล่งที่มีสเต็มเซลล์มาก สกัดและเก็บ โดยการเจาะเข้าไปในกระดูก ( มักเป็นกระดูกต้นขา หรือ สันกระดูกปีกสะโพก )
2. เซลล์ไขมัน ซึ่งอาศัยการสกัดโดยการดูดไขมัน จากร่างกาย
3. เลือด เป็นแหล่งที่มีสเต็มเซลล์มากเช่นกัน ซึ่งต้องอาศัยการสกัด โดยการเจาะเอาเฉพาะส่วนประกอบหนึ่งของเลือด ( apheresis ) คือ เป็นการนำเอาเลือดจากผู้ที่เต็มใจจะบริจาค ( ทำนองเดียวกับ การบริจาคเลือด ) และ ผ่านกระบวนการแยกเซลล์ จากเครื่องซึ่งแยกเซลล์ต้นกำเนิด และ คืนเลือดส่วนอื่น คืนให้ผู้บริจาค

สเต็มเซลล์ ในปัจจุบัน
สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์ต้นกำเนิด ( Stem Cell ) MSCs เป็นถือว่าเป็นความหวังที่ว่ามนุษย์จะนำไปรักษาโรค ในอนาคตที่รักษาได้หลากหลายชนิด เพราะโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันรักษาไม่ได้นั้น ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่เซลล์ของเนื้อเยื่อมนุษย์บางชนิดเมื่อตายไปแล้ว ร่างกายไม่สามารถสร้างใหม่ได้ เช่น สมอง หัวใจ ดังนั้น การค้นพบสเต็มเซลล์ จึงเป็นเสมือนการค้นพบแหล่งสร้างเซลล์ชนิด ที่ต้องการเพื่อนำไปพัฒนาเป็นการรักษาต่อไป
สเต็มเซลล์ รักษาโรคได้ทุกโรค จริงไหม ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีงานวิจัยทางด้านสเต็มเซลล์ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมาก ๆ ทำให้เกิดความหวังกับนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่จะหาแนวทางรักษาโรคที่ในอดีตคิดกันว่า ไม่มีทางรักษาได้แน่นอน
ผศ.ดร.นพ.นิพัญจน์ อิศรเสนา ณ อยุธยา หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และ เซลล์บำบัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความฝันว่าการใช้ สเต็มเซลล์ จะสามารถใช้รักษาโรคได้ทุกชนิดในอนาคต ที่จะมีการนำสเต็มเซลล์มาใช้ในทางการแพทย์อย่างกว้างขวางในอนาคต แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่บุคคลทั่วไปเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสเต็มเซลล์ ปัจจุบันโรคที่ใช้สเต็มเซลล์รักษาได้จริง ยังมีจำกัดไม่กี่โรค ถึงนำไปสร้างเซลล์ที่ต้องการได้ในหลอดทดลอง ก็ไม่ใช่ว่าฉีดเข้าไปในร่างกายแล้วจะเกิดประโยชน์ ในทางตรงข้ามกัน การนำไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ก็ทำให้เกิดอันตรายได้ ยังมีรายละเอียดอีกมากที่ยังต้องศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์จริง และ ลดอันตรายต่อผู้ป่วย ที่แน่ ๆ คือ ยังก้าวไม่ถึงจุดที่จะสามารถรักษาโรคได้ทุกโรค ตามที่หลายคนในสังคมเข้าใจ
เพราะสเต็มเซลล์นั้นจริง ๆ แล้ว มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน นำไปใช้สร้างเซลล์ของเนื้อเยื่อคนละชนิด มีประโยชน์ และ โทษแตกต่างกันเมื่อนำไปปลูกถ่ายตัวอย่างง่าย ๆ คือ สเต็มเซลล์ของเลือด ก็สร้างเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง สเต็มเซลล์ของสมองก็สร้างเฉพาะเซลล์ประสาท และเซลล์เยื่อหุ้มประสาทเป็นต้น ส่วนสเต็มเซลล์ที่สร้างเซลล์ร่างกายได้ทุกชนิดมีเพียง สเต็มเซลล์ตัวอ่อน ( human embryonic stem cells ) ซึ่งยังต้องวิจัยพัฒนาอีกประมาณ 5 – 10 ปี ก่อนคนไข้ทั่วไปจะมีโอกาสได้ใช้จริง

สเต็มเซลล์ รักษาอะไรได้บ้าง
หัวหน้าศูนย์วิจัยเซลล์ต้นกำเนิด และ เซลล์บำบัด เผยว่าการใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคอย่างมีมาตรฐานนั้น ในประเทศไทยนับเพียง สเต็มเซลล์เลือด ( จากไขกระดูก หรือ สายสะดือทารก ) สำหรับโรคเลือดเท่านั้น ในต่างประเทศบางแห่งการเพาะ และ ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ผิวหนัง และ กระจกตา เป็นการรักษามาตรฐาน แต่เนื่องจากมีต้นทุนที่สูงมาก ทำให้ในทางปฏิบัติ มีการใช้ในยุโรปบางประเทศเท่านั้น โรงเรียนแพทย์ของไทยมีการพัฒนาเทคนิคดังกล่าว แต่ยังเป็นโครงการวิจัยไม่ใช่การรักษามาตรฐาน

แต่ความก้าวหน้า ในการวิจัยสเต็มเซลล์เป็นไปอย่างรวดเร็ว ล่าสุดกับงานวิจัยที่คว้ารางวัลโนเบลของ ศ.ชินยะ ยามานากะ ค้นพบวิธีการการนำเซลล์ชนิดใดก็ได้ในร่างกายมนุษย์มาทำให้กลายเป็นเซลล์ไอพีเอส iPS technology ( Induced Pluripotent Stem cell ) ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสเต็มเซลล์ตัวอ่อน ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ใดก็ได้ ในร่างกาย เนื่องจากเป็นเซลล์ของตัวผู้ป่วยเอง จึงมีประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาการรักษาใหม่ ที่น่าจะสามารถใช้เป็นการรักษาแบบมาตรฐานได้ในเร็ว ๆ นี้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก thefaceaesthetic

0
    0
    Your Cart
    Your cart is emptyReturn to Shop